การออกแบบบ้าน-ออกแบบสถาปัตยกรรม
ขั้นตอนการออกแบบ-เขียนแบบสถาปัตย์ มีดังต่อไปนี้
1. งานขั้นวางแผนแนวทางการออกแบบ ( Programming Phase )
ขั้นการให้คำปรึกษาและขอข้อมูลสำหรับการออกแบบของโครงการจากเจ้าของโครงการ เพื่อทำการสรุป ความต้องการขั้นต้น ของลูกค้า หรือ เจ้าของโครงการ
1.1 รับข้อมูล วัตถุประสงค์ และความต้องการของผู้ว่าจ้าง ข้อมูลที่จำเป็นต่อการขอคำปรึกษาจากนักออกแบบตกแต่งภายในได้แก่
1.1.1. ขนาด ที่ตั้งและรูปร่างของโครงการหรืออาคารที่จะทำการตกแต่ง
1.1.2. งบประมาณที่ได้ตั้งใจไว้
1.1.3. รูปแบบหรือ Style ที่ชอบเป็นพิเศษ
1.1.4. ความต้องการหรือประโยชน์ใช้สอยที่ต้องการจากพื้นที่นั้นๆ
1.1.5. ข้อจำกัดต่างๆ ในงานออกแบบ (ถ้ามี) และ
1.1.6. ของประดับใดหรือสีใดที่ชื่นชอบเป็นพิเศษ และต้องการให้มีในงานออกแบบ (ถ้ามี)
โดยในขั้นตอนนี้อาจจะมีการพบปะพูดคุยระหว่างสถาปนิก และลูกค้ามากกว่า 1 ครั้งเพื่อ ปรับความเข้าใจต่างๆ ให้ตรงกัน และบ่อยครั้งที่ลูกค้าใช้ การพูดคุยในขั้นตอนนี้เพื่อพิจารณาตัวสถาปนิก ว่าสามารถทำงานด้วยกันได้หรือไม่น่าเชื่อถือเพียงใด และมีความสามารถ หรือรูปแบบของงานตรงกับ ความต้องการของลูกค้าหรือไม่ และในทำนองเดียวกัน สถาปนิก ส่วนใหญ่ก็จะใช้ขั้นตอนนี้ ในการพิจารณาว่าจะรับงานของลูกค้ารายนั้นหรือไม่ ด้วยเช่นกัน
1.2 เสนอแนวความคิดในการออกแบบ ( Preliminary Concept )
สถาปนิก จะทำการวางแนวความคิดในการออกแบบคร่าวๆให้กับลูกค้าทำการ พิจารณา รูปแบบการออกแบบ (Style) รวมทั้งแบ่งพื้นที่ ใช้สอยคร่าวๆ (Zoning) หรือวางผังพื้นที่ใช้สอย อย่างง่ายๆ (Lay-out Plan) เพื่อให้ลูกค้าทำการพิจารณา การแบ่งพื้นที่ทั้งหมดว่าตรงกับความต้องการใช้งานจริง ของลูกค้าหรือไม่
2. งานออกแบบร่างขั้นต้น ( Schematic Design Phase )
สถาปนิก จะนำแนวความคิดในการออกแบบ และผังพื้นที่ในการใช้สอย ที่ได้ผ่านการอนุมัติ จากลูกค้าแล้วมาพัฒนาเป็น แบบร่างอย่างง่ายๆ เพื่อให้ ลูกค้าเกิดจินตภาพ ได้ว่างานออกแบบทั้งหมด จะออกมาเป็นอย่างไร โดยสถาปนิกจะทำการนำเสนอเป็นภาพ Sketch หรือ Perspective หรือ Model ก็ได้
2.1 แบบร่างขั้นต้นแสดงถึงการใช้สอยพื้นที่ในอาคาร ( Layout Plans )
2.2 รูปทัศนียภาพ ขาว-ดำ ( Black White Perspective Sketch )
2.3 การเสนองบประมาณค่าใช้จ่าย ( Preliminary Budget )
เมื่อผ่านขั้นตอนนี้แล้ว ลูกค้าจะเริ่มเข้าใจและมองเห็น หน้าตาของงานออกแบบ ที่สถาปนิกจะพัฒนาในขั้นตอนต่อไป และลูกค้าอาจจะขอปรับแบบได้ แต่ไม่ควรจะแก้ไขแบบจนผิดไปจาก แนวความคิดใน การออกแบบและผังที่ได้วางเอาไว้ เพราะจะทำให้สถาปนิก ต้องกลับไป เริ่มต้นใหม่ทั้งหมดนอกจากนี้ จะกำหนดจำนวนครั้งใน การขอแก้ไขแบบในขั้นตอนนี้ไว้ไม่เกิน 2 ครั้ง เพื่อให้งานออกแบบไม่ยืดเยื้อ และแล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนด
3. งานออกแบบขั้นพัฒนา ( Design Development Phase )
3.1 แบบแปลนการจัดห้อง และพื้นที่ใช้สอยต่าง ( Layout Plans )
3.2 รูปทัศนียภาพ สี ขาว-ดำ ( Color or Black White Perspective Views )
3.3 รูปด้าน ( Elevation Drawings )
3.4 ตัวอย่างการใช้สี และวัสดุอุปกรณ์ ( Material Board )
3.5 แบบจำลอง ( Model )
ในขั้นตอนนี้ สถาปนิกจะทำการพัฒนาแบบ ต่อจากแบบร่างขั้นต้น โดยนักออกแบบมักจะนำเสนอเป็นภาพ Perspective ที่เสมือนจริงหรือ Model ที่ ใกล้เคียงกับงานออกแบบ ที่จะออกมามากที่สุด เพื่อให้ลูกค้าสามารถจินตนาการ งานทั้งหมด ได้ชัดเจน และในขั้นตอนนี้ลูกค้า อาจจะขอแก้ไขแบบร่าง ในส่วนรายละเอียดได้บ้าง แต่ไม่มากนัก เนื่องจากแบบในขั้นตอนนี้ มักจะได้รับการอนุมัติจากแบบร่างขั้นต้น เกือบทั้งหมดแล้ว อย่างไรก็ดี หากลูกค้าต้องการทำการแก้ไขส่วนหลักๆ ในแบบร่าง ใน ขั้นตอนนี้ บริษัทจะขอคิดค่าบริการเพิ่มเติม เนื่องจากเป็นการเพิ่มงาน หรือจัดว่า เป็นงาน ออกแบบใหม่เลยทีเดียว
1. งานขั้นวางแผนแนวทางการออกแบบ ( Programming Phase )
ขั้นการให้คำปรึกษาและขอข้อมูลสำหรับการออกแบบของโครงการจากเจ้าของโครงการ เพื่อทำการสรุป ความต้องการขั้นต้น ของลูกค้า หรือ เจ้าของโครงการ
1.1 รับข้อมูล วัตถุประสงค์ และความต้องการของผู้ว่าจ้าง ข้อมูลที่จำเป็นต่อการขอคำปรึกษาจากนักออกแบบตกแต่งภายในได้แก่
1.1.1. ขนาด ที่ตั้งและรูปร่างของโครงการหรืออาคารที่จะทำการตกแต่ง
1.1.2. งบประมาณที่ได้ตั้งใจไว้
1.1.3. รูปแบบหรือ Style ที่ชอบเป็นพิเศษ
1.1.4. ความต้องการหรือประโยชน์ใช้สอยที่ต้องการจากพื้นที่นั้นๆ
1.1.5. ข้อจำกัดต่างๆ ในงานออกแบบ (ถ้ามี) และ
1.1.6. ของประดับใดหรือสีใดที่ชื่นชอบเป็นพิเศษ และต้องการให้มีในงานออกแบบ (ถ้ามี)
โดยในขั้นตอนนี้อาจจะมีการพบปะพูดคุยระหว่างสถาปนิก และลูกค้ามากกว่า 1 ครั้งเพื่อ ปรับความเข้าใจต่างๆ ให้ตรงกัน และบ่อยครั้งที่ลูกค้าใช้ การพูดคุยในขั้นตอนนี้เพื่อพิจารณาตัวสถาปนิก ว่าสามารถทำงานด้วยกันได้หรือไม่น่าเชื่อถือเพียงใด และมีความสามารถ หรือรูปแบบของงานตรงกับ ความต้องการของลูกค้าหรือไม่ และในทำนองเดียวกัน สถาปนิก ส่วนใหญ่ก็จะใช้ขั้นตอนนี้ ในการพิจารณาว่าจะรับงานของลูกค้ารายนั้นหรือไม่ ด้วยเช่นกัน
1.2 เสนอแนวความคิดในการออกแบบ ( Preliminary Concept )
สถาปนิก จะทำการวางแนวความคิดในการออกแบบคร่าวๆให้กับลูกค้าทำการ พิจารณา รูปแบบการออกแบบ (Style) รวมทั้งแบ่งพื้นที่ ใช้สอยคร่าวๆ (Zoning) หรือวางผังพื้นที่ใช้สอย อย่างง่ายๆ (Lay-out Plan) เพื่อให้ลูกค้าทำการพิจารณา การแบ่งพื้นที่ทั้งหมดว่าตรงกับความต้องการใช้งานจริง ของลูกค้าหรือไม่
2. งานออกแบบร่างขั้นต้น ( Schematic Design Phase )
สถาปนิก จะนำแนวความคิดในการออกแบบ และผังพื้นที่ในการใช้สอย ที่ได้ผ่านการอนุมัติ จากลูกค้าแล้วมาพัฒนาเป็น แบบร่างอย่างง่ายๆ เพื่อให้ ลูกค้าเกิดจินตภาพ ได้ว่างานออกแบบทั้งหมด จะออกมาเป็นอย่างไร โดยสถาปนิกจะทำการนำเสนอเป็นภาพ Sketch หรือ Perspective หรือ Model ก็ได้
2.1 แบบร่างขั้นต้นแสดงถึงการใช้สอยพื้นที่ในอาคาร ( Layout Plans )
2.2 รูปทัศนียภาพ ขาว-ดำ ( Black White Perspective Sketch )
2.3 การเสนองบประมาณค่าใช้จ่าย ( Preliminary Budget )
เมื่อผ่านขั้นตอนนี้แล้ว ลูกค้าจะเริ่มเข้าใจและมองเห็น หน้าตาของงานออกแบบ ที่สถาปนิกจะพัฒนาในขั้นตอนต่อไป และลูกค้าอาจจะขอปรับแบบได้ แต่ไม่ควรจะแก้ไขแบบจนผิดไปจาก แนวความคิดใน การออกแบบและผังที่ได้วางเอาไว้ เพราะจะทำให้สถาปนิก ต้องกลับไป เริ่มต้นใหม่ทั้งหมดนอกจากนี้ จะกำหนดจำนวนครั้งใน การขอแก้ไขแบบในขั้นตอนนี้ไว้ไม่เกิน 2 ครั้ง เพื่อให้งานออกแบบไม่ยืดเยื้อ และแล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนด
3. งานออกแบบขั้นพัฒนา ( Design Development Phase )
3.1 แบบแปลนการจัดห้อง และพื้นที่ใช้สอยต่าง ( Layout Plans )
3.2 รูปทัศนียภาพ สี ขาว-ดำ ( Color or Black White Perspective Views )
3.3 รูปด้าน ( Elevation Drawings )
3.4 ตัวอย่างการใช้สี และวัสดุอุปกรณ์ ( Material Board )
3.5 แบบจำลอง ( Model )
ในขั้นตอนนี้ สถาปนิกจะทำการพัฒนาแบบ ต่อจากแบบร่างขั้นต้น โดยนักออกแบบมักจะนำเสนอเป็นภาพ Perspective ที่เสมือนจริงหรือ Model ที่ ใกล้เคียงกับงานออกแบบ ที่จะออกมามากที่สุด เพื่อให้ลูกค้าสามารถจินตนาการ งานทั้งหมด ได้ชัดเจน และในขั้นตอนนี้ลูกค้า อาจจะขอแก้ไขแบบร่าง ในส่วนรายละเอียดได้บ้าง แต่ไม่มากนัก เนื่องจากแบบในขั้นตอนนี้ มักจะได้รับการอนุมัติจากแบบร่างขั้นต้น เกือบทั้งหมดแล้ว อย่างไรก็ดี หากลูกค้าต้องการทำการแก้ไขส่วนหลักๆ ในแบบร่าง ใน ขั้นตอนนี้ บริษัทจะขอคิดค่าบริการเพิ่มเติม เนื่องจากเป็นการเพิ่มงาน หรือจัดว่า เป็นงาน ออกแบบใหม่เลยทีเดียว